วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

บทบาทและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

1.ด้านเศรษฐกิจ

ในแวดวงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับงานการเงิน  การธนาคาร  มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนการดำเนินงานหลักของธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้  เช่น
การฝากถอนเพื่อทำรายการด้านการเงินของธนาคาร  มีระบบการทำรายการที่เชื่อมโยงถึงกันระหว่างสาขาย่อยของแต่ละธนาคาร  มีการนำเอาตู้เอทีเอ็ม (ATM : Automatic  Teller  Machine) ติดตั้งเพื่อให้บริการลูกค้าของธนาคารตามแหล่งชุมชนต่างๆ  รวมถึงการขยายสาสขาการรับฝากถอนเงินไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกอีกด้วย




2.ด้านสังคม

                เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยพัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์  และทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น  ตัวอย่างเช่น 
โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  มีการเข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม  ให้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน  มีการมอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนชนบท  คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาล  ผู้ต้องขัง  รวมถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยเหลือคนตาบอด เพื่อให้สามารถอ่านหนังสือได้  เช่น   หนังสือเลียง ระบบ DAISY ที่มีการบันทึกข้อมูลของหนังสือเป็นระบบเสียงในระบบดิจิตอล ช่วยให้คนตาบอดสามารถค้นหาข้อมูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว





3.ด้านกาศึกษา

                 ในยุคก่อนหน้าที่จะมีเทคโนโลยีสารสนเทศ  ปัญหาเรื่องสถานที่ในการเรียนการสอนที่มีอุปสรรคบ้างสำหรับผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาเรียน หรือศึกษายังสถาบันที่ที่เปิดสอนจริงๆ ได้  โดยเฉพาะนักเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร  และอาจเกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาตามมาแต่ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้าช่วยลดปัญหานี้บ้างแล้ว  แม้จะยังไม่แพร่หลายมากนักก็ตาม เช่น
  •  การถ่ายทอดสัญญาณรายการสอนผ่านเครือข่ายดาวเทียมสำหรับนักเรียนถิ่นทุรกันดารของกรมการศึกษานอกโรงเรียน  
  •  การให้บริการการเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  •  รวมถึงการเปิดหลักสูตรเพื่อสอนในระดับอุดมศึกษาบางสาขาให้กับนักศึกษาที่อยู่ห่างไกลได้เข้ามาเรียน 
    โดยทำการศึกษาทบทวน  และทดสอบด้วยตัวเองผ่านระบบของมหาวิทยาลัย






4.ด้านการสื่อสารและโทรคมนาคม

                เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การติดต่อและแลกเปลี่ยนทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น  เราสามารถรับส่งข้อมูลประเภทภาพ  เสียง หรือวีดีโอ ผ่านโทรศัพท์มือถือเครื่องเล็กๆ ได้  คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นสามารถเชื่อมต่อกันผ่าน Bluetooth ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทำได้ง่ายกว่าเดิม  การเชื่อมต่อเครือข่ายในปัจจุบันก็ไม่จำเป็นต้องลากสาย หรือเดินสายให้ยุ่งยาก  มีเพียงแต่อุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย  ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้แล้ว  ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลายตามบ้านหรือสำนักงานต่างๆ
เทคโนโลยีของโทรศัพท์ยังทำให้ลดข้อจำกัดเรื่องของสถานที่ลงไปได้ด้วย  คนที่อยู่ต่างท้องที่  สามรถพูดคุยสื่อสารหรือตอบโต้กันได้  โดยไม่จำเป็นต้องไปพบปะกันจริงๆ
                นอกจากนี้เทคโนโลยี ยังทำให้เกิดเครือข่ายใหม่ๆ อย่างอินเตอร์เน็ต ที่เข้าถึงคนได้ทั่วโลก แค่ปลายคลิก ก็สามารถทำให้เกิดกิจกรรมและผลประโยชน์ต่อมนุษย์มากมาย






5.ด้านสาธารณสุข

มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อสนับสนุน และแลกเปลี่ยนข้อมูลการรักษาผู้ป่วยที่เรียนกว่า โครงการการแพทย์ทางไกล (telemedicine)  ซึ่งเป็นการนำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์  โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณดาวเทียม หรือใยแก้วนำแสง แล้วแต่กรณี  ควบคู่ไปกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์   โดยแพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหว  และเสียง  ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ทั้งทางด้านภาพ เช่น
                ฟิล์มเอกซ์เรย์และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์  เช่น  การเต้นของหัวใจ  คลื่นหัวใจ  พร้อมๆกันกับการแลกเปลี่ยนเปลี่ยนประสบการณ์  และการปรึกษาเสมือนคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน  ทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาคนไข้ดีมากยิ่งขึ้นรวมถึงช่วยลดปัญหาการขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  การแพทย์ทางไกลนี้ ยังได้นำเอามาประยุกต์ใช้กับการถ่ายทอดการเรียนการสอนและการประชุมวิชาการทางการแพทย์ให้สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญได้อีกด้วย





6.ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ


                การวิเคราะห์สภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่เรียกว่า GIS  หรือระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์  โดยการกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก  ซึ่งรวบรวมจากแหล่งต่างๆ  ทั้งข้อมูลพื้นที่  แผนที่  รูปถ่ายทางอากาศ  ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง  ประยุกต์ใช้งานด้านธรณีวิทยา  การพยากรณ์อากาศ  และการควบคุมสิ่งแวดล้อมให้ก้าวหน้าไปในทิศทางที่ถูกต้องและเหมาะสม




ยุคของเทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่


ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้นอย่างรวดเร็ว  จนทำให้โลกทุกวันนี้กลายเป็นโลกไร้พรมแดนซึ่งทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายมากกว่าเดิม  โดยสิ่งสำคัญที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องง่ายคือ เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย  วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายตัวอักษรย่อ G ซึ่งย่อมาจากคำว่า Generation  แปลว่ายุคหรือช่วงสมัย  โดยได้เริ่มมีการพัฒนาการของยุคต่างๆ ไว้ดังต่อไปนี้


ยุค 1 (1 Generation)
                เป็นยุคที่ใช้ระบบอนาล็อก  คือ  การใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง  โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น  แม้แต่การรับ-ส่ง SMS (Short  Message Service) ก็ยังทำไม่ได้ 
                ในยุคนั้นผู้บริโภคยังไม่ต้องการ การใช้งานอื่นๆ  นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้ว โดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก  ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้มีรายได้สูง




ยุค 2 (2 Generation)
                เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นวิทยุแบบอนาล็อกมาเป็นการเข้ารหัสดิจิตอลแทน  โดยผู้ใช้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูล  คือ สามารถส่งข้อความ SMS  ได้นอกเหนือจากการโทรออก-รับสาย  รวมทั้งยังทำให้เกิดการบริการมากมาย  เช่น
                การเปิดให้ดาวน์โหลดเสียงเรียกสาย (Ringtone)    ภาพพื้นหลังหน้าจอ(Wallpaper)  ต่อมาได้มีการนำเทคโนโลยี  GPRS มาใช้ เพื่อเพิ่มความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลให้มากขึ้น  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง  เช่น
                สามารถส่ง MMS (Multimedia  Message  Service) ได้  เสียงเรียกเข้ามีการเพิ่มเสียงเป็นแบบ Polyphonic (เสียงดนตรีสังเคราะห์)  และ  True  tone (เสียงเพลงเสมือนจริง)  รวมทั้งมีการพัฒนาจอภาพให้มีสีสันสวยงามแทนจอเดิมที่เป็นจอบแบบขาว-ดำ 
                ต่อมาได้มีการพัฒนาความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้น  โดยใช้เทคโนโลยี  EDGE  ซึ่งมีความเร็วมากกว่า GPRS ประมาณ 3 เท่า ทำให้สามารถเข้าเว็บไซต์ เล่นอินเทอร์เน็ตได้  แต่ความเร็วยังคงมีจำกัด  และไม่สามารถรองรับไฟล์ขนาดใหญ่ได้โดยเทคโนโลยี GPRS และ EDGE  ถูกนำระบบมาตรฐานคลื่นความถี่  GSM (System  for  Mobile  Communication)







ยุค 3 (3 Generation)
                มีความโดดเด่นในเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและรับ-ส่งข้อมูล  โดยเน้นการเชื่อมต่อไร้สายด้วยความเร็วสูง เพื่อรองรับการใช้งานกับอุปกรณ์สมัยใหม่ที่ช่วยให้สามารถใช้งานด้านมัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์แบบ  และสามารถส่งข้อมูลทั้งภาพ และเสียงในระบบไร้สายด้วยความเร็วสูง  ซึ่งก่อให้เกิดการใช้งานที่หลากหลาย  ไม่ว่าจะเป็นการสนทนาผ่านวีดีโอคอล (Video  Call)  หรือดูหนัง  ฟังเพลง  ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต  นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการบริการที่เรียกว่า โมไบล์แอพพลิเคชัน (Mobile  Applicatoin) ด้วย  สำหรับประเทศไทยได้นำเทคโนโลยี UMTS (Universal  Mobile Telecommunication  System ) มาใช้ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ที่ถูกพัฒนามาจากระบบคลื่นความถี่ GSM ที่มีเทคโนโลยีหลักคือ W-CDMA ต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเทคโนโลยี HSPA+  ที่สามารถรังส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุดถึง 42 Mbps




ยุค 4 (4 Generation)
                ถือได้ว่าเป็นยุคปัจจุบัน  โดยจะเป็นการใช้เทคโนโลยี LTE (Long  Term  Evolution)  ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 3 GPP (3 Generation  Partnership  Project)  ที่มีการส่งถ่ายข้อมูลดิจิตอลมัลติมีเดียสตรีมมิ่งที่มีความเร็วอย่างน้อย 100 Mbps  และมีความเร็วสูงสุดถึง  1 Gbps








ประวัติของการสื่อสารข้อมูล


การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่มีผลต่อการสื่อสารข้อมูลเกิดขึ้นเมื่อปี 1837  เมื่อ Samuel  Morse ได้คิดค้นโทรเลขขึ้นมาได้ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มนุษย์เราสามารถส่งสารสนเทศ (Information) โดยการใช้สัญญาณไฟฟ้าสายทองแดงโดยตัวอักษรแต่ละตัวจะถูกส่งเรียงลำดับกันไปตามแรงกระตุ้นของสัญญาณไฟฟ้าที่สั้นยาวสลับกันซึ่งสัญญาณดังกล่าวเราเรียกว่ารหัสมอร์ส(Morse  code) ซึ่งเราถือว่าเป็นครั้งแรกที่มนุษย์สามารถส่งสารสนเทศโดยที่ไม่สามารถมองเห็นสารสนเทศที่ส่งออกไปด้วยตาเปล่าได้



ภาพ.เครื่องส่งโทรเลขของมอร์ส


ภาพ.รหัสมอร์ส


ต่อมาในปี ค.ศ. 1876 Axlexader  Graham  Bell  ได้คิดค้นโทรศัพท์ขึ้นมาได้สำเร็จ  โดยอาศัยหลักการแปลงสัญญาณเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งสัญญาณดังกล่าวไปตามสายทองแดงโดยอาศัยแรงดันไฟฟ้าที่ต่อเนื่องกันไปและเมื่อสัญญาณดังกล่าวไปถึงปลายทางก็ทำการแปลงสัญญาณดังกล่าวให้เป็น  สัญญาณเสียง


ภาพ.โทรศัพท์ไม้ยุคแรก



ภาพ.โทรศัพท์ในยุคแรกของ Bell


เหตุการณ์ที่สำคัญต่อการสื่อสารข้อมูลอีกเหตุการณ์หนึ่ง  ก็คือการคิดค้นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรงของโลกที่ชื่อว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and  Calculator) ซึ่งออกแบบเพื่อช่วยในการคำนวณวิถีกระสุนในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเราถือว่า ENIAC เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการ ประมวลผลสารสนเทศเครื่องแรกของโลกด้วย  ซึ่งการประมวลผลส่วนใหญ่ จะใช้เทคโนโลยีของหลอดสุญญากาศมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลความสัมพันธ์ระหว่างคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูล  เริ่มต้นปรากฏในปี 1947  เมื่อมีการคิดค้นทรานซิสเตอร์ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงอีกทั้งราคาก็ถูกลง  และในปี  1960  ซึ่งเราถือได้ว่าเป็นยุคของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ที่สามารถสร้างแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้รับบนคอมพิวเตอร์ เช่น  การประมวลผลข้อมูล การกำหนดเส้นทางของโทรศัพท์  ซึ่งคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์  ซึ่งบริษัทต่างๆ  ได้เริ่มจัดหาคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลผลข้อมูล  และรันแอฟฟิเคชั่น  อื่นๆ ของบริษัทให้มีการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทำให้การสื่อสารข้อมูลมีความเจริญและพัฒนายิ่งขึ้น




ภาพ.คอมพิวเตอร์ENIAC



ระบบการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์มีหลักคิดอย่างง่ายๆ แต่มีความเชื่อถือได้ และยังคงใช้หลักการดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบันนี้  เช่น การเขียนสารสนเทศลงบนเทปแม่เหล็ก  แล้วเราสามารถที่จะนำเอาเทปแม่เหล็กไปตามที่ต่างๆ  ได้แล้วนำไปให้อีกเครื่องหนึ่งอ่านได้ด้วย และเมื่อมีการคิดค้นแผงวงจรรวม(Integrated  Circuit) เพื่อนำมาสร้างคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal  Computer, PC)  ในปี  1980  ทำให้คอมพิวเตอร์ถูกนำมาในบริษัท  โรงเรียน  บ้าน  และองค์กรอื่น ๆ  อย่างกว้างขวาง  เพราะคอมพิวเตอร์สามารถที่จะจัดเก็บ  ค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว



ภาพ.คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน